PRAKRUANGTHAI.ORG - ศูนย์พระเครื่องไทย [พระกริ่ง-พระรูปหล่อ-พระชัยวัฒน์]

 

เชษฐ์ ราชบุรี
คุณพิเชษฐ์ โอท็อป
โทร. 062-549-9669
bhicheat@hotmail.co.th
ขณะนี้มีผู้เข้าชม: 11 คน
ผู้เข้าชม: 167 ครั้ง
Administrator
สงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
PRAKRUANGTHAI.ORG
จัดทำโดย
สยามอนุรักษ์ ดอท คอม
พระกริ่ง-พระรูปหล่อ-พระชัยวัฒน์
พระพิฆเนศ กรุเจดีย์วัดครุฑธาราม จ.อยุยธยา ขนาด 1 นิ้ว
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
พระพิฆเนศ กรุเจดีย์วัดครุฑธาราม จ.พระนครศรีอยุยธยา ขนาดหน้าตัก 1 นิ้ว ลักษณะศิลป์เป็นแบบโจฬะของอินเดีย ราว คศ. 1000 ทองน่าจะปิดตอนลงกรุ..เก่ามากและหายากมากด้วยครับ

พระพิฆเนศ เป็นพระโอรสของ พระศิวะ และ พระปารวตี มีพระวรกายเป็นมนุษย์ มีพระเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็น "วิฆเนศ" นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรคสามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และยังหมายถึงทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ พระวรกายที่อ้วนพีนั้นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ พระเศียรที่เป็นช้างหมายถึงทรงมีปัญญามาก พระเนตรที่เล็กคือสามารถมองแยกแยะสิ่งถูกผิด พระกรรณและพระนาสิกที่ใหญ่หมายถึงทรงมีสัมผัสพิจารณาที่ดีเลิศ พระพิฆเนศทรงมีหนูเป็นพระสหาย (บางก็ว่าเป็นพระพาหนะ) ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิดที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ

พระกริ่งหลวงพ่อแฉ่ง พิมพ์ประภามณฑลทรงสังข์ (พระแต่งแก่า)
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
พระกริ่ง หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง พิมพ์ประภามณฑลทรงสังข์ (พระแต่งแก่า) หายากมากครับ เลี่ยมทองสั้งทำอย่างหนาสวยงามครับ

พระกริ่งประภามณฑล หลวงพ่อแฉ่ง (พระครูศีลปัญญา) วัดบางพัง นี้คาดว่าคงเทหล่อในระหว่างปี พ.ศ.2485-2490 โดยดัดแปลงแบบพิมพ์มาจากพระกริ่งประภามณฑลของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศน์ จึงมีขนาดใกล้เคียงกันมากจุดแตกต่างระหว่างพระกริ่งประภามณฑลของท่าเจ้าคุณศรีฯ และพระกริ่งประภามณฑลของหลวงพ่อแฉ่ง ที่สังเกตได้ชัดเจนคือพระพักตร์ในพระกริ่งประภามณฑลหลวงพ่อแฉ่งจะมีพระพักตร์รูปไข่ยาวกว่าของพระกริ่งประภามณฑลท่านเจ้าคุณศรีฯ ซึ่งพระพักตร์จะมีลักษณะเป็นผลมะตูมตลอดจนฐานบัวของพระกริ่งประภามณฑลของท่านเจ้าคุณศรีฯ จะมีบัวแค่ 7 กลีบ แต่พระกริ่งประภามณฑลของหลวงพ่อแฉ่งมี 9 กลีบและรูปทรงของกลีบบัวก็แตกต่างกัน สังเกตเห็นได้ชัด การบรรจุเม็ดกริ่งเช่นเดียวกับพระกริ่งประภามณฑลของท่านเจ้าคุณศรีฯ คือเทแบบกริ่งในตัวอุดเม็ดกริ่งบริเวณฐานด้านหลัง 2 รู ใต้ฐานเรียบ วรรณะ(เนื้อ) เหลืองปนขาวไม่กลับดำ จำนวนการสร้างสันนิษฐานอยู่ในราว 100-200 องค์ฯลฯ......

(ขอขอบพระคุณ: ข้อมูลบางส่วนจาก Facebook:โดยเล็ก ทวีทรัพย์)


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ

พระรูปเหมือนหล่อโบราณพ่อท่านคล้าย (พิมพ์ต้อก้น “อุ” นิยม)
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
พระรูปหล่อโบราณพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” (พิมพ์ต้อ-นิยม) รุ่นแรก พระสภาพสวยผิวเดิมๆ

พระรูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน (พิมพ์ก้น “อุ” ปี 2507 เป็น 1 ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคีรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ยอดนิยม อันประกอบด้วย รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร, รูปเหมือนปั๊มและพระหล่อโบราณ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์,รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รุ่นเลขใต้ฐาน (หรือรุ่นเบตง จ.ยะลา), รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ อ.หนองแค จ.สระบุรี และ รูปเหมือนหล่อโบราณ “พระพ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” ปี 2507

ที่เรียกว่า พิมพ์ก้น “อุ” มาจากมีตัวอักขระขอม คำว่า “อุ” ติดมากับองค์พระ เป็นร่องลึกตรงใต้ฐาน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการตอกในภายหลังแต่อย่างใด

รูปเหมือนพ่อท่านคล้าย รุ่นนี้ทำพิธีเททองหล่อที่ วัดบางเดือน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อประมาณปี 2505 ออกให้เช่าบูชาเมื่อปี 2507 ที่ วัดกรูด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี และส่วนหนึ่ง “พ่อท่านคล้าย” ได้เอาไปแจกที่วัดสวนขันในภายหลัง จำนวนสร้างไม่มากนัก ประมาณไม่เกิน 1 พันองค์

เนื้อพระออกวรรณะเหลืองเป็นหลัก บางองค์ออกวรรณะเหลืองอมเขียว ผิวนอกมักออกวรรณะน้ำตาลอมดำ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2 ซม.เศษ สูงประมาณ 3 ซม.

พระรุ่นนี้วงการพระเครื่องแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลัก คือ พิมพ์ต้อ (นิยม) และ พิมพ์ชะลูด ซึ่งยังแบ่งย่อยๆ ออกไปอีกหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ต้อหน้าใหญ่, พิมพ์ต้อหน้าเล็ก, พิมพ์ชะลูดหน้าแหงน ฯลฯ
(ข้อมูลบางส่วน; เว็บไซด์ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย)


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ

รูปหล่อโบราณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ขนาดจิ๋ว 1ซม. (เนื้อสำริด)
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
รูปหล่อโบราณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ขนาดจิ๋ว 1ซม. (เนื้อสำริด) ออกวัดอินทรวิหาร(บางขุนพรหม) กทม.


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ

พระกริ่งนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพฯ กทม. ปี2530
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
พระกริ่งนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพฯ กทม. ปี2530 (เนื้อนะวะโลหะ) องค์นี้เป็นพระชุดคัดพิเศษสวยมากครับ มีหน้ามีตาติดเต็มสมบูรณ์ชัดเจน....

พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร วัดตรีทศเทพฯ กรุงเทพฯ ปี2530 ถือเป็นอีกหนึ่งของสุดยอดพระกริ่งแห่งแผ่นดินสยามฯ มีสร้างไว้ด้วยกัน 2 เนื้อได้แก่..เนื้อนวโลหะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองล่ำอู่จำนวน 499 องค์ รวมกันทั้งสองเนื้อมีจำนวนทั้งสิ้นเพียง 999 องค์เท่านี้น กระแสเนื้อโลหะกลับน้ำตาลอมแดง...ทั้งนี้จะมีพระกริ่งจำนวน 99 องค์ได้นำมาทาชาดแดงไว้ที่ใต้ฐานด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้ง สมเด็จพระเทพฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเททองหล่อพระพุทธนวราชบพิตรบูชาไว้ในพระอุโบสถของวัดตรีทศเทพฯ กทม. พร้อมทั้งทรงเททองหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ในวันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ในมหามงคลสมัยอันเป็นมิ่งมงคลยิ่ง ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบพระนักษัตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ชนวนสำคัญที่ใช้ในการหล่อพระชุดนี้ ประกอบด้วย ชนวนพระพุทธนวราชบพิตร ปี 2509 (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่ให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ) , ชนวนพระกริ่งปวเรศ (รุ่นแรก), ผงสมเด็จจิตรลดา, เส้นพระเกศาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ทองคำ, เงิน, นาก และเครื่องยศของนายทหาร ตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมในพิธีฯ

สมเด็จพระสังฆราช (วาส), สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช, พระวัชรธรรมาภรณ์ (เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร) และคณะสงฆ์ ได้เข้าร่วมพิธีมหามงคลนี้ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร พ.ศ. 2530 ได้รับพิธีพุทธาภิเษก 3 แห่ง ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร, วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระพุทธนวราชบพิตรบูชาในพระอุโบสถนั้น จะมีพุทธลักษณ์เช่นเดียวกับพระพุทธนวราชบพิตร ปี 2509 ส่วนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ได้นำแบบของพระกริ่งวัดตรีทศเทพฯ ปี 2491 และพระกริ่งวัดสุทัศน์ มาปรับปรุงแบบให้ได้พุทธลักษณ์ที่งดงามและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของวัดตรีทศเทพฯ กรุงเทพฯ


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ

จำนวน: 39 รายการ, ขณะนี้อยู่หน้าที่ 4 ในทั้งหมด 8 หน้า
   หน้าแรก | ย้อนกลับ
1 | 2 | 3 | [4] | 5 | 6 | 7 | 8
หน้าต่อไป | หน้าสุดท้าย