พระกริ่งสวนเต่า (ไกลปืนเที่ยง) วัดทองธรรมชาติ กทม. ปี 2463
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
|
รายละเอียด:องค์นี้กระแสเนื้อออกแดง ก้นอุดใหญ่/นิยม สภาพสวยมีหน้ามีตาติดชัดเจน คราบเบ้าเดิมๆ ดูเข้มขลังมากครับ..เป็นพระกริ่งที่สามารถบูชาขึ้นคอ แบบองค์เดียวได้อย่างสนิทใจที่สุดเลยครับผม...หลวงปุ่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าเป็นเจ้าพิธีเททอง และยังมีหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง ฯลฯ ร่วมปลุกเสก...
สำหรับพระกริ่งสวนเต่า (ไกลปืนเที่ยง) นี้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่ท่านพระครูเหมนพคุณ หรือหลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณฯ (วัดทองล่าง) อ.คลองสาน ธนบุรี ท่านมีอายุครบ 7รอบ 84ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2463 โดยสร้างล้อพิมพ์ จากพระกริ่งสวนเต่าที่สร้างในสมัยรุัชกาลที่5 โดยในพิธีการหล่อสร้างพระกริ่งนี้ได้นิมนต์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นเจ้าพิธีเททอง...
ในระหว่างที่ดำเนินการเททองหล่อพระกริ่งอยู่นั้น ก็มีแผ่นยันต์บางแผ่นของพระอาจารย์บางรูป..ไม่ยอมหลอมละลาย หลวงปู่ศุข ท่านจึงใช้ไม้พันสายสิญจน์ลงไปจี้จึงยอมหลอมละลาย ซึ่งในขณะหลอมเททอง บรรดาพระอริยะคณาจารย์ก็นั่งทำพิธีอธิษฐานจิตพุทธาภิเศกปลุกไปพร้อมๆกันด้วย ซึ่งตรงกับเวลาเที่ยงวันพอดี ซึ่งสมัยนั้นก็จะต้องยิงปืนใหญ่บริเวณท้องสนามหลวง เพื่อบอกเวลาเที่ยงวัน แต่ปรากฎว่าปืนใหญ่ที่ใช้ยิงบอกเวลานั้นยิงไม่ออก ไม่สามารถยิงได้ แม้ว่าจะเปลี่ยนลูกปืนแล้วก็ตาม รวมทั้งเปลี่ยนปืนใหม่และยิงอีกหลายครั้งก็ยังยิงไม่ออก จึงทำให้พระกริ่งที่สร้างปลุกเศกในครั้งนั้นได้รับการขนานนามว่า พระกริ่งไกลปืนเที่ยง".....
สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในครั้งนั้นคือ 1) สมเด็จพุฒาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม กทม. 2) หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม กทม. 3) หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี กทม. 4) หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ ธนบุรี กทม. 5).อาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี 6) หลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ ธนบุรี กทม. 7) หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี 8) หลวงปู่รอด วัดสามไถ จ.อยุธยา 9) หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา 10) หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท 11) หลวงปู่เป้า วัดใหม่สุประดิษฐาราม จ.นครปฐม 12) หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม 13) หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว จ.สุพรรณบุรี 14) เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา กทม. 15) หลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ จ.นครปฐม 16) หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก จ.สมุทรสงคราม 17) พระอุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี 18) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดระฆังโฆษิตาราม กทม. 19) หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ จ.สุพรรณบุรี 20) หลวงพ่ออุย วัดบ้านกร่าง จ.สุโขทัย 21) หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จ.สมุทรสาคร 22) หลวงพ่อผัน วัดกรับพวง จ.พิษณุโลก 23) อาจารย์พา วัดระฆังโฆษิตาราม กทม. 24) หลวงพ่อชุ่ม วัดบางนาใน กทม. 25) หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี 26) หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (ปลักไม้ดำ) จ.กำแพงเพชร 27 หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี 28 หลวงพ่อปั้น วัดหาดทนง จ.อุทัยธานี 29) หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม. 30) หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ 31) หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร (บางขุนเทียน) กทม. 32) หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี 33) หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี ฯลฯ...
มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ
|
|
พระชัยวัฒน์ รุ่นทองทิพย์ เจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ กทม.
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
|
รายละเอียด:พระชัยวัฒน์ รุ่นทองทิพย์ เจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ กทม. ปี 2495 สภาพมากผิวน้ำทองเต็มองค์..สวยเดิมๆ มีหน้าตา คมชัดลึกครับ
มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ
|
|
พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม พิมพ์ชลูด
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
|
รายละเอียด:พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม พิมพ์ชลูด สภาพสวยเดิมๆ..
มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ
|
|
พระกริ่งหนองแส หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน กทม. รุ่นแรก
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
|
รายละเอียด:พระกริ่งหนองแส หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน กทม. รุ่นแรก ปีพ.ศ.2494 สภาพสวยเดิม..หายากครับ
หลวงปู่กลีบได้สร้างวัตถุมงคลไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน โดยลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้ตัดเสื้อกั๊กบ้าง ผ้าประเจียดบ้าง มาขอให้ท่านลงอักขระให้ ท่านก็กรุณาลงให้ บ้างก็นำแผ่นโลหะมา ให้ท่านช่วยทำตะกรุดให้บ้าง ในครั้งนั้นปรากฏว่ามีผู้ได้รับประสบการณ์ถูกยิงไม่เข้า ต่อมาในปี พ.ศ.2479 หลวงปู่มีอายุครบ 60 ปี คณะศิษย์จึงขออนุญาตหลวงปู่จัดทำบุญแซยิด และได้สร้างเหรียญรูปท่าน และแหวนมงคล 8
ต่อมาในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่ก็ได้ปรึกษากับท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เรื่องหาปัจจัยสร้างมณฑปที่ยังค้างอยู่ ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) จึงได้แนะนำให้สร้างพระกริ่ง โดยใช้พิมพ์ของพระกริ่งหนองแสเป็นแบบ และได้กำหนดเอาวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2494 ทำพิธีหล่อ โดยใช้ชนวนพระกริ่งของวัดสุทัศน์ที่ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) มอบให้และทองชนวนของหลวงปู่กลีบมาเทหล่อหลังจากที่ทำพิธีที่วัดสุทัศน์เสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ได้นำกลับมาปลุกเสกเดี่ยวอีกหนึ่งพรรษา จึงนำมาแจกในปี พ.ศ.2495 พระกริ่งรุ่นนี้หล่อตันแล้วจึงนำมาเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่ง และอุดด้วยทองชนวน วรรณะออกสีเหลืองอมเขียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน จำนวนสร้างประมาณ 200 องค์
มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ
|
|
พระรูปเหมือนหล่อโบราณพ่อท่านคล้าย (พิมพ์ชลูดก้น อุ)
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
|
รายละเอียด:พระรูปหล่อโบราณพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน พิมพ์ก้น อุ (พิมพ์ชลูด) รุ่นแรก พระสภาพสวยผิวเดิมๆ
พระรูปเหมือนหล่อโบราณ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน (พิมพ์ก้น อุ ปี 2507 เป็น 1 ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคีรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ยอดนิยม อันประกอบด้วย รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร, รูปเหมือนปั๊มและพระหล่อโบราณ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์,รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รุ่นเลขใต้ฐาน (หรือรุ่นเบตง จ.ยะลา), รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ อ.หนองแค จ.สระบุรี และ รูปเหมือนหล่อโบราณ พระพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน พิมพ์ก้น อุ ปี 2507
ที่เรียกว่า พิมพ์ก้น อุ มาจากมีตัวอักขระขอม คำว่า อุ ติดมากับองค์พระ เป็นร่องลึกตรงใต้ฐาน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการตอกในภายหลังแต่อย่างใด
รูปเหมือนพ่อท่านคล้าย รุ่นนี้ทำพิธีเททองหล่อที่ วัดบางเดือน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อประมาณปี 2505 ออกให้เช่าบูชาเมื่อปี 2507 ที่ วัดกรูด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี และส่วนหนึ่ง พ่อท่านคล้าย ได้เอาไปแจกที่วัดสวนขันในภายหลัง จำนวนสร้างไม่มากนัก ประมาณไม่เกิน 1 พันองค์
เนื้อพระออกวรรณะเหลืองเป็นหลัก บางองค์ออกวรรณะเหลืองอมเขียว ผิวนอกมักออกวรรณะน้ำตาลอมดำ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2 ซม.เศษ สูงประมาณ 3 ซม.
พระรุ่นนี้วงการพระเครื่องแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลัก คือ พิมพ์ต้อ และ พิมพ์ชะลูด ซึ่งยังแบ่งย่อยๆ ออกไปอีกหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ต้อหน้าใหญ่, พิมพ์ต้อหน้าเล็ก, พิมพ์ชะลูดหน้าแหงน ฯลฯ (ข้อมูลบางส่วน; เว็บไซด์ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย)
มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ
|
|