PRAKRUANGTHAI.ORG - ศูนย์พระเครื่องไทย พระพุทธรูป วัตถุมงคล และวัตถุโบราณ

 

เชษฐ์ ราชบุรี
คุณพิเชษฐ์ โอท็อป
โทร. 062-549-9669
bhicheat@hotmail.co.th
ขณะนี้มีผู้เข้าชม: 18 คน
ผู้เข้าชม: 21019 ครั้ง
Administrator
สงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
PRAKRUANGTHAI.ORG
จัดทำโดย
สยามอนุรักษ์ ดอท คอม


20. ปางรำพึง
เมื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ทูลลากลับไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงคำนึงว่า พระธรรมซึ่งพระองค์ตรัสรู้นั้น
เป็นสิ่งลึกซึ้งสุขุมยอดยิ่ง ยากที่ชาวโลกผู้ยินดีในกามคุณจะใช้ปัญญารู้ตามได้ แล้วทรงท้อพระทัยที่จะ
ตรัสสั่งสอน ครั้นทรงหวนพิจารณาอีกว่า บุคคลย่อมมีปัญญาแตกต่างกัน อาจแบ่งออกเป็น 4 จำพวกคือ
1. บุคคลที่มีอุปนิสัยวาสนาและบารมีแก่กล้า ได้สดับคำสั่งสอนพอสังเขปก็รู้เหตุผลและหลุดพ้นทุกข์ได้โดยพลันจำพวกหนึ่ง
2. บุคคลที่มีอุปนิสัยได้สดับคำสั่งสอนโดยสังเขปไม่สามารถตรัสรู้ได้ ต่อจำแนกอรรถาธิบายโดยพิศดารจึงรู้เหตุผลและหลุดพ้นทุกข์ได้จำพวกหนึ่ง
3. บุคคลที่ได้สดับคำสั่งสอนทั้งโดยสังเขปและพิศดารแล้วยังไม่สามารถตรัสรู้ได้ ต้องฝึกฝนพากเพียรศึกษาในสมถและวิปัสสนาต่อไป จึงรู้เหตุผลและหลุดพ้นได้อีกจำพวกหนึ่ง
4. บุคคลที่มีอุปนิสัยบารมียังไม่บริบูรณ์แม้จะได้สดับพระธรรมคำสั่งสอนทั้งโดยย่อและพิศดาร
แม้จะฝึกฝนและพากเพียรเล่าเรียนในสมถและวิปัสสนา ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้เหตุผล และหลุดพ้นทุกข์
ได้อีกจำพวกหนึ่ง

เปรียบเหมือนในกออุบลคือบัวขาบ ในกอปทุมคือบัวหลวง หรือในกอบุณฑริกคือบัวขาว ดอกบัวที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้น คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่จักบาน ณ วันต่อๆไป ดอกบัวที่บานมีต่างชนิดกันฉันใด
เวไนยสัตว์ก็มีต่างพวกฉันนั้น เว้นแต่จำพวกที่ไม่ใช่เวไนย คือไม่ยอมรับแนะนำเปรียบด้วยดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า เมื่อพะพุทธเจ้าทรงพิเคราะห์บุคคลเป็นจำพวกๆดังนี้ ทรงเห็นว่าบุคคล
3 จำพวกแรก สามารถจะล่วงรู้เหตุผลแห่งความจริง(พระธรรม) ได้ในชาติปัจจุบัน แต่บุคคลจำพวกที่ 4 อาจจะตรัสรู้ได้ในชาติอนาคต ก็ตกลงพระทัยที่จะแสดงพระธรรมสั่งสอนชาวโลกสืบไป

ตามนัยนี้กล่าวว่าเป็นบุคคลาธิษฐานว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรึกตรองและท้อพระทัยจะไม่สั่งสอนชาวโลกนั้น ท้าวสหัมบดีได้ลงมาจากพรหมโลกกราบทูลอาราธนาเพื่อแสดงพระธรรม โดยอ้างว่าบุคคลที่มีกิเลสเบาบางอาจสดับรู้พระธรรมก็มีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นชอบด้วย จึงรับคำอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม

พระพุทธรูปปางรำพึง ทำเป็นพระพุทธรูปประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานพระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายเป็นกิริยารำพึง

พระพุทธรูปปางรำพึงนิยมสร้างเป็นที่สักการบูชาประจำวันของคนที่เกิดวันศุกร์ และบูชาตามพิธีทักษา

1. ปางประสูติ
2. ปางมหาภิเนษกรมณ์
3. ปางทรงตัดพระเมาลี
4. ปางทุกรกิริยา
5. ปางทรงรับมธุปายาส
6. ปางเสวยมธุปายาส
7. ปางลอยถาด
8. ปางทรงรับหญ้าคา
9. ปางสมาธิ
10. ปางมารวิชัย
11. ปางถวายเนตร
12. ปางจงกรมแก้ว
13. ปางเรือนแก้ว
14. ปางห้ามมาร
15. ปางนาคปรก
16. ปางฉันสมอ
17. ปางประสานบาตร
18. ปางรับสัตตูก้อน สัตตูผง
19. ปางพระเกศธาตุ
20. ปางรำพึง
21. ปางปฐมเทศนา
22. ปางประทานเอหิภิกขุ
23. ปางภัตตกิจ
24. ปางห้ามสมุทร
25. ปางชี้อัครสาวก
26. ปางประทับเรือขนาน
27. ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
28. ปางอุ้มบาตร
29. ปางทรงรับผลมะม่วง
30. ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
31. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
32. ปางเปิดโลก
33. ปางห้ามพระแก่นจันทน์
34. ปางประทับยืน
35. ปางลีลา
36. ปางสมาธิเพชร
37. ปางสรงน้ำฝน
38. ปางขับพระวักกลิ
39. ปางประทานอภัย
40. ปางประทานพร
41. ปางโปรดสัตว์
42. ปางคันธาระ
43. ปางขอฝน
44.ปางปลงกรรมฐาน
45.ปางสนเข็ม
46.ปางทรงจีวร
47.ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
48.ปางปาเลไลยก์
49.ปางห้ามญาติ
50.ปางทรมานพระยามหาชมพู
51. ปางทรงพิจารณาชราธรรม
52. ปางนาคาวโลก
53. ปางแสดงโอฬาริกนิมิต
54. ปางปลงอายุสังขาร
55. ปางทรงรับอุทกัง
56. พระปางไสยาหรือปรินิพพาน