PRAKRUANGTHAI.ORG - ศูนย์พระเครื่องไทย [เครื่องรางยอดนิยม]

 

เชษฐ์ ราชบุรี
คุณพิเชษฐ์ โอท็อป
โทร. 062-549-9669
bhicheat@hotmail.co.th
ขณะนี้มีผู้เข้าชม: 9 คน
ผู้เข้าชม: 20569 ครั้ง
Administrator
สงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
PRAKRUANGTHAI.ORG
จัดทำโดย
สยามอนุรักษ์ ดอท คอม
เครื่องรางยอดนิยม
เสือสมิงเขี้ยวแกะหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
เสือสมิงเขี้ยวแกะหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี สภาพสวยมากครับศิลป์เต็มเขี้ยวตามแบบมาตรฐานนิยมของหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส ครับ..เสือสมิงเขี้ยวแกะ เป็นสุดยอดของเครื่องรางในด้านเมตตา ค้าขาย แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี และมหาอำนาจ หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส มีคุณวิเศษว่ากันว่าท่านสำเร็จวิชาเสือสิงห์สมิงพรายมีตบะเดชะ ทั้งในด้านเมตตามหานิยม และมหาอำนาจเป็นหลัก ดังนั้นใครมีเสือสมิงของหลวงพ่อคงไว้ในครอบครองแล้วจึงมีคุณวิเศษ และทำให้รู้สึกดี มีความมั่นใจในตัวเองมากยิ่งนัก แต่ก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติตนให้ดี มีศิล5 เป็นพื้นฐานสำคัญครับผม...

เสือเขี้ยวแกะเป็นสัญลักษณ์แห่งมหาอำนาจ ศิลป์อาจารย์วิทย์ ปลุกเสกโดย หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี (ยุคแรก) ขนาดเขี้ยวใหญ่เต็มเขี้ยว,กว้าง,ยาว,สูง 2x6 ซม. ยุคต้น สวยจัดมันส์มาก ครับผม รายละเอียดร่องขนเสือชัดเจน ลงกำกับอักษร "ฆง" ไว้ตรงด้านหลังของตัวเสือ (ข้างซ้ายตัว "เฑาะ") ดุชัดเจน และน่าเกรงขามเป็นอย่างยิ่ง วิชาเสือสมิง ว่ากันว่าเป็นวิชาเอกของหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส เลยครับ เล่าลือกันว่าแม้แต่ตัวของท่านพ่อเอง ยังเคยแปลงกายเป็นเสือสมิงมาแล้ว ... สุดยอดแห่งประสบการณ์เ ที่ครอบคุมในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะป้องกันสัตว์ดุร้าย หรือสิ่งที่มีอำนาจเล้นรับ การเข้าหาเจ้านาย ผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอำนาจเ ได้เห็นผลอย่างใจนึก พกติดตัวไปไหนมาไหนจะมีสง่าราศรี และ หน้าเกรงขาลต่อผู้พบเห็น...................

สำหรับพระคาถา ให้ตั้งนะโม 3 จบระลึกถึง คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ และให้ระลึกกล่าวถึงหลวงพ่อคง วัดวังสพรส แล้วอาราธนาพระคาถาว่า "ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ตัวกูคือ พญาพยัคโฆ สัตถาอาหะพยัคโฆ จะริริยะ อิมังคาถามะหา อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม"คล็ดลับสำคัญสำหรับการอราถนาพระคาถานี้ ให้อาราธนาตั้งแต่ "ตะมัตถัง มาจนถึง อิมังคาถามะหะ" .แล้วให้กลั้นลมหายใจ เวลาท่องให้มั่น ทำจิตให้ดุเหมือนเสือแล้วจึงย้ำว่า. "อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม" แล้วจึงผ่อนลมหายใจ พระคาถานี้สามารถใช้ได้ดีในทุกโอกาส ชนใดบูชา "เขี้ยวเสือ" นี้ติดตัวหรือห่อผ้าเช็ดหน้านำติดตัวไปที่ใดย่อมเป็น ที่ครั่นคร้ามเกรงอำนาจดีนัก ถ้าหากเดินทางใกล้ไกล เข้าป่าเข้าดง เผชิญฝูงสัตว์ร้าย และภูตผีปีศาจ ก็จะมิอาจทำอันตรายใดๆ เป็นคงกระพันมหาอุด และ แคล้วคลาดเป็นที่สุด ....


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ/ขายแล้วครับ

ปลัดขิกจิ้งจก หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
ปลัดขิกจิ้งจก หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี เป็นอีกหนึ่งของสุดยอดเครื่องรางในด้านเมตตา ค้าขาย โชคลาภ มีประสพการตรงประสบการณ์มากมายนับไม่ถ้วนเลยครับ


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ/ขายแล้วครับ

สิงห์คาบแก้ว หลวงพ่อคง สุวณฺโณ วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
สิงห์คาบแก้ว หลวงพ่อคง สุวณฺโณ วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี สภาพสวยสมบูรณ์เดิมๆ หายากมากครับ เป็นสุดยอดด้านศิลป์และพุทธคุณมหาอำนาจ ตบะเดชะ บารมี เป็นศิลปะเนื้อไม้แกะที่งดงามมาก เป็นศิลป์งานแกะชั้นครู โดย อาจารย์ถนอม โพธิ์ทอง เป็นศิษย์เอกครอบครู อีกท่านหนึ่งของหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส...


มูลค่าสะสม: โชว์ภาพพระ/ขายแล้วครับ

แหวนหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ รุ่นแรก
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
แหวนสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร พระโขนง กรุงเทพมหานคร (รุ่นแรก) สภาพสวยเดิมๆ หายากมากลูกศิษย์ไม่ควรพลาดครับผม


มูลค่าสะสม: ให้บูชาแล้ว

กะลาแกะพระราหูอมจันทร์ หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว
คลิกเพื่อดูรายละเอียด
รายละเอียด:
กะลาแกะพระราหูอมจันทร์ หลวงพ่อกริ่ง ปัญญาพโล วัดโพธิ์เลี้ยว จ.กาญจนบุรี

พระครูวิธานกาญจนกิจ (หลวงพ่อกริ่ง ปัญญาพโล วัดโพธิ์เลี้ยว) นามเดิมชื่อ นายกริ่ง จินดากูล เกิด 30 มีนาคม พ.ศ.2460 ขึ้น 8 ค่ำเดือน 5 ปีมะเส็ง ที่บ้านทวน ต.บ้านทวน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โยมบิดาชื่อ นายนาค โยมมารดาชื่อ นางเทียบ……….

บรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ 24 เมษยน พ.ศ. 2483 ณ วัดท่าเรือ ต.ท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยพระครูวรวัตตวิบูลย์ หรืออาจารย์เฉื่อย วัดเเสนตอ เป็นพระอุปัชฌาย์ , พระอธิการวุ้น พุทธสโร วัดท่าเรือ พระกรรมวาจาจารย์ , พระใจ วัดแสนตอ เป็นอนุสาวนาจารย์ สังกัดวัดวังศาลา ต.วังศาลา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

หลวงพ่อกริ่งท่านรักสันโดดท่านชอบเรื่องคาถาอาคมมาก ท่านเริ่มสนใจศึกวิชาคาถาอาคมตั้งแต่สมัยเป็นเณร เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทแล้วอาจารย์ของท่านจึงส่งท่านให้ไปอยู่กับหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ โดยไปสังกัดอยู่วัดศรีษะทอง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เพื่อศึกษาธรรมและร่ำเรียนวิชาอาคมราหูอมจันทร์ และการสร้างวัวธนู จากหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ ซึ่งท่านเป็นพระเกจืที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากองค์หนึ่งของจังหวัดนครปฐมในสมัยนั้น

ปี พ.ศ.2483-84 สมัยนั้นหลวงพ่อน้อยท่านมีลูกศิษย์ก้นกูฏิอยู่ 2 องค์คือ พระสมและพระกริ่ง พระสม หลวงพ่อน้อย ท่านส่งให้ไปเรียนที่วัดมหาธาติฯกรุงเทพฯ ได้เปรียญธรรม 9ประโยค เป็นพระมหาสม หลวงพ่อน้อยท่านหวังจะให้รับช่วงเป็นเจ้าอาวาสต่อจากท่าน..........

หลวงพ่อน้อยท่านรู้ว่าหลวงพ่อกริ่งชอบวิชาอาคมมากท่านได้เสกหมากเสกพลูให้หลวงพ่อกริ่งเคี้ยวทุกวัน ก่อนสอนวิชาวัวธนู และวิชาราหู หลวงพ่อกริ่งเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิเพียงคนเดียวเท่านั้นที่หลวงพ่อน้อยท่านครอบครูราหูให้ และหลวงพ่อกริ่ง ก็ได้ช่วยหลวงพ่อน้อย จารกะลามาโดยตลอดเนื่องจากหลวงพ่อน้อยท่านจารองค์เดียวไม่ทันเวลาในฏกษ์นั่นเอง......

ปี พ.ศ.2485 อาจารย์ปิ่น ฐาเณสโก ท่านได้บรรพชาอุปสมบท เข้าสังกัดวัดศีษะทอง(ท่านมีศักดิ์เป็นหลานห่างๆ ของหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์)………

ปี พ.ศ.2487 หลวงพ่อกริ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นเจ้าอาวาสเป็นเจ้าอาวาส วัดหัวพงษ์ (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ศรีสุขาราม) ชาวบ้านเรียกวัดโพธิ์เลี้ยว จ.กาญจนบุรี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่2 ทหารญี่ปุนตั้งค่ายอยู่ตรงหน้าวัดโพธิ์เลี้ยวพอดี // เล่ากันว่าหลวงพ่อกริ่ง ท่านได้เดินผ่านค่ายทหารญี่ปุ่นในยามวิกาล ทหารญี่ปุ่นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นใส้ศึก ชักเอาดาบซามูไรฟันไปที่หลังของท่านจนจีวรขาด แต่ซามูไรไม่ละคายผิวหลวงพ่อเลย เล่าทหารญี่ปุ่นเลยพากันนับถือหลวงพ่อกริ่งมาก ต่างอยากได้ของดีจากหลวงพ่อ ทหารญี่ปุ่นขับรถจี๊บให้หลวงพ่อกริ่งนั่งไปกลับวัดศรีษะทองทุกครั้ง เมื่อสงครามสงบลงแล้วทหารญี่ปุ่นก็ได้ถวายรถยนต์ เครื่องปั่นไฟ ให้หลวงพ่อกริ่งทั้งหมด วัดโพธิ์เลี้ยวจึงเป็นวัดแรกๆของ จ.กาญจนบุรี ที่มีรถยนต์และเครื่องปั่นไฟใช้ก่อนใครสมัยนั้น........

ปี พ.ศ. 2488 หลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ ท่านมีอาการป่วย และท่านได้ถึงการละสังขารในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2488 สิริรวมอายุได้ 53ปี 32 พรรษา..หลังหลวงพ่อน้อย ได้ละสังขารไปแล้ว วัดศีษะทอง ก็เกิดความไม่ลงตัวเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ญาติโยมชาวศรีษะทอง อยากให้พระอาจารย์ปิ่น ฐาเณสโก เป็นเจ้าอาวาส มากกว่าพระมหาสม ส่วนอาจารย์ปิ่นเอง ท่านตั้งใจลาสิขามากกว่า แต่ติดที่ได้รับปากกับหลวงพ่อน้อยไว้แล้วว่า จะรอให้อุโบสถเสร็จเสียก่อน..ญาติโยมชาวบ้านขอให้หลวงพ่อกริ่ง ช่วยเป็นรักษาการเจ้าวาสไปก่อน ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หลวงพ่อองค์น้อย”

ปี พ.ศ.2504 วัดโพธิ์เลี้ยว จัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ในงานหลวงพ่อกริ่งได้ครอบครูราหูให้กับอาจารย์ปิ่น ฐาเณสโก กับพระสงฆ์ อีก 2รูปด้วย (มีรูปถ่ายอยู่ที่วัดโพธิ์เลี้ยว) ปี พ.ศ.2505 อาจารย์ปิ่น ฐาเณสโก รับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดศรีษะทอง ..//พระมหาสมไม่ได้เป็นเจ้าวาส ตามที่ได้รับปากกับหลวงพ่อน้อย เลยลาสิกขา นุงขาวห่มขาวชาวบ้านเรียกท่านว่า “หมอสม” .. ปี พ.ศ.2507 วัดศรีษะทอง จัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตพระอุโบสถ หลังเสร็จงานแล้ว อาจารย์ปิ่น ฐาเณสโก ท่านก็ได้ไปทำการลาสิกขาบท ที่วัดท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ..วัดศรีษะทอง จึงถึงคราวที่ต้องว่างเจ้าวาสลงอีกครั้ง

หลวงพ่อกริ่งท่านไม่เคยทิ้งวัดศรีษะ ท่านได้สร้างคุณูปการต่างๆกับวัดศรีษะทองเป็นอันมาก ดั่งผู้ปิดทองหลังพระ ญาติโยมชาวศรีษะทอง รักนับถือหลวงพ่อกริ่งมาก ท่านรักสันโดดท่านไม่เอาหน้าไม่อยากดัง มีหนังสือพระเครื่องหลายเล่ม มาขอสัมภาษเรื่องราวของท่าน แต่ท่านก็ได้ปฏิเสธไปทุกครั้ง ด้วยเหตุนี้คนทั่วไปเลยไม่ค่อยจะรู้จักท่านมากนัก...

หลวงพ่อกริ่งท่านขมังเวท์และหนังเหนียว ช่วงท้ายชีวิต ท่านช่วยช่างก่อสร้างอาคารเรียนวัดโพธิ์ศรีสุขาราม พลัดตกที่สูงกระดูกสันหลังอักเสพ/ขาเสีย...เล่ากันว่าเข้าโรงพยาบาลหมอพยาบาลไม่สามารถฉีดยา ฉีดน้ำเกลือให้ท่านได้เลย เข็มหักหมด ถวายยาฉันอย่างเดียว และท่านได้มรณะภาพลงเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 เวลา 16.30 น. สิริรวมอายุได้ 75 ปี 42 พรรษา

อภินิหารงานวันพระราชทานเพลิง พอถึงเวลาเผาเกิดท้องฟ้ามีดคลึ่ม เจ้าหน้าที่จุดไฟเท่าไรก็จุดไม่ติด // เล่ากันว่าก่อนละสังขารท่านได้สั่งเสียศิษย์ใกล้ชิดเอาไว้ว่าน้องชายของท่านคนเดียวเท่านั้นที่จุดศพท่านได้ ปรากฏพอน้องชายท่านมาถึง ท้องฟ้าก็สว่างเกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกรด น้องชายท่านจุดไฟครั้งเดียวติดเลย พอไฟเริ่มไหม้ร่างของท่านสักระยะต้นสะเดาหน้าเมรุเกิดเสียงลั่นด้งสนั่นแล้วกิ่งสะเดากริ่งใหญ่ค่อยๆแยกหักลงมาสร้างความประหลาดใจต่อญาติโยมเป็นอันมากหลังเสร็จพิธีแล้วชาวบ้านต่างแยงกันนำกริ่งสะเดากลับไปบูชาที่บ้านเพราะเชื่อว่านั่นคือเครื่องรางศักดิ์สิทธิสุดท้ายที่ของหลวงพ่อกริ่ง.............

(ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก // หนังสือพิธีพระราชทานเพลิงศพพระครูวิธานกาญจนกิจ , คำบอกเล่าผู้เฒ่าผู้เเก่ในท้องที่ศรีษะทอง , เอกสารบันทึกหลวงพ่อกริ่ง , เพจวัดโพธิ์ศรีสุขาราม , สื่ออินเตอร์เน็ตอื่นฯลฯ)


มูลค่าสะสม: โทรถามราคา

จำนวน: 66 รายการ, ขณะนี้อยู่หน้าที่ 5 ในทั้งหมด 14 หน้า
   หน้าแรก | ย้อนกลับ
1 | 2 | 3 | 4 | [5] | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14
หน้าต่อไป | หน้าสุดท้าย